LIEKR:
พระพุทธองค์ทรงให้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลที่จะบวชไว้หลายประการ เพื่อให้การบวชเกิดประโยชน์แก่ผู้บวชและเป็นประโยชน์ต่อการสืบทอดพระพุทธศาสนา ดังนั้นเพื่อให้การบวชเป็นไปอย่างถูกต้องตามพระธรรมวินัยทั้งในการบวชเป็นสามเณรที่เรียกว่า “บรรพชา” และการบวชเป็นพระภิกษุที่เรียกว่า “อุปสมบท” โดยผู้ที่บรรพชาและอุปสมบทต้องมีคุณสมบัติที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ ดังนี้
บุคคลที่มีคุณสมบัติต้องห้ามบวชพระ
Sponsored Ad
1.คนทำความผิดหลบหนีอาญาแผ่นดิน
2.คนหลบหนีราชการ
3.คนต้องหาในคดีอาญา
4.คนเคยถูกตัดสินจำคุก โดยฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ
5.คนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา
6.คนมีโรคติดต่อเป็นที่น่ารังเกียจ เช่น วัณโรคในระยะอันตราย
7.คนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้
นอกจากนี้ ในศาสนาพุทธยังได้กำหนดว่าผู้ที่ห้ามบวชโดยเด็ดขาดมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ ผู้ที่มีเพศและภาวะบกพร่อง ผู้ที่เคยทำอนันตริยกรรม 5 อย่าง และผู้ที่ทำผิดต่อพระพุทธศาสนา หากคณะสงฆ์ให้บวชไปโดยที่ไม่รู้ เมื่อทราบภายหลังจะต้องให้ลาสิกขา
Sponsored Ad
ประเภทที่ 1 ผู้ที่มีเพศและภาวะบกพร่อง
• บัณเฑาะก์ หมายถึง กะเทย
• อุภโตพยัญชนก หมายถึง คนที่มีอวัยวะเพศ 2 เพศ คือ มีทั้งเพศหญิงและเพศชายในคนเดียวกัน
• สัตว์ดิรัจฉาน
ประเภทที่ 2 ผู้ที่เคยทำอนันตริยกรรม
ประเภทที่ 3 ผู้ที่ทำผิดต่อพระพุทธศาสนา
Sponsored Ad
• ผู้ที่เคยต้องอาบัติปาราชิก หมายถึงผู้ที่เคยบวชแล้วแต่ทำผิดร้ายแรงถึงระดับที่ขาดจากความเป็นพระภิกษุ บุคคลประเภทนี้จะกลับมาบวชอีกไม่ได้
• ผู้ที่ประทุษร้ายภิกษุณี
• คนลักเพศ หมายถึง ปลอมบวช คือเอาผ้าเหลืองมาห่มเองโดยไม่มีพระอุปัชฌาย์
• ผู้ที่ไปเข้ารีตเดียรถีย์ หมายถึงพระภิกษุ-สามเณรที่เปลี่ยนไปเป็นนักบวชนอกพระพุทธศาสนา จะกลับมาบวชไม่ได้
ที่มา : amarintv