"ปลาดอร์ลี่" เนื้อขาวอมชมพูสวย ที่หลายคนชอบทาน แท้จริงแล้วไม่ใช่ปลาทะเลราคาแพง!

LIEKR:

ปลาดอร์ลี่ที่เรากินๆ กัน ไม่ใช่ "ปลาทะเล" แล้วเรากินตัวอะไรอยู่?

        หนึ่งในเมนูโปรดของใครหลายๆ คน เชื่อว่าคงต้องมีเมนู “ปลาดอร์ลี่” อยู่ในลิสต์ด้วยแน่นอน ฟังแล้วดูเหมือนปลาทะเลสายพันธ์นอกราคาแพงหายาก ไม่ว่าจะนำมาทำ ต้มยำปลาดอร์ลี่ ปลาดอร์ลี่ลวกจิ้ม หรือเมนูต่างๆ หลากหลายเมนู แต่เพื่อนๆ รู้กันหรือไม่ว่า ปลาดอร์ลี่แท้ที่จริงแล้ว ลักษณะของตัวปลามันเป็นยังไง?

        ปลาดอร์ลี่ เนื้อขาวน่ารับประทานที่มีชื่อหรูหราจนหลายคนชื่นชอบนั้น แท้จริงแล้วคือปลาสวายขาว ไม่ใช่ปลาดอร์ลี่อย่างที่ถูกตั้งชื่อ และทุกคนเข้าใจตามนั้นจากการเปิดโปงโดย สรรค์สนธิ บุณโยทยาน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร และข้าราชการบำนาญ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เขียนบทความถึงความเป็นมาจากปลาสวายเนื้อขาว สู่ปลาดอร์ลี่ในปัจจุบัน….

 

Sponsored Ad

 

        ใจความโดยสรุปนั้น เขาเผยว่า ผู้ขายระบุชื่อว่าเป็น “ปลาดอร์ลี่แล่” กำกับภาษาอังกฤษว่า Pangasius Fillet (Pangasius Hypopthalmus) เป็นการให้ข้อมูลแบบไม่ครบถ้วนอาจสร้างความเข้าใจผิดว่าเป็นปลาทะเล หรือปลาชนิดใหม่ เปรียบเทียบกับสินค้าชนิดเดียวกันที่อเมริกามีการระบุรายละเอียดชัดเจนว่าเป็นปลาเลี้ยงจากฟาร์มในประเทศเวียดนาม ใช้ชื่อการค้าว่า Swai

        “จริงๆ แล้วคนขายเขาก็ไม่ได้หลอกเพราะเขียนภาษาอังกฤษ พร้อมกำกับด้วยศัพท์วิทยาศาสตร์ไว้เห็นชัดๆ ว่า Pangasius hypophthalmus แต่ผู้บริโภคทั่วไปไม่ทราบว่านี่คือ ปลาสวายธรรมดา”

 

Sponsored Ad

 

        ทั้งนี้ ความเป็นมาของการแปลงปลาสวายให้กลายเป็นปลาเลิศหรูในชื่อ ปลาดอร์ลี่นั้น มาจากที่ว่าโดยปกติแล้ว เนื้อของปลาดอร์ลี่นั้นจะมีสีเหลืองไม่น่ากิน แต่ปลาดอร์ลี่จากประเทศเวียดนามกลับมีสีขาวอมชมพูน่ารับประทาน ซึ่งเคยมีการเข้าใจผิดในหมู่เกษตกรเพาะเลี้ยงด้วยว่า ปลาดังกล่างนั้นคือ ปลาเผาะ

        เมื่อก่อนนั้น รองนายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เคยมีไอเดียการเลี้ยงปลาสวายเนื้อขาว (โดยคิดว่านั่นคือปลาเผาะ) เลยเอามาส่งเสริมที่จังหวัดนครพนมภายใต้แผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดผู้ว่าฯ ซีอีโอ เมื่อปี 2547 – 49 เพื่อการส่งออกไปประเทศสเปน

 

Sponsored Ad

 

.

        ทั้งนี้ตัวเขาเองในฐานะที่เป็นเกษตกรก็ยอมรับว่า เข้าใจผิดว่าปลาสวายเนื้อขาวที่ชาวเวียดนามเลี้ยงคือ “ปลาเผาะ” (Pangasius bocourti) ที่เป็นปลาธรรมชาติอยู่ในแม่น้ำโขง ปลาชนิดนี้ชาวนครพนมรู้จักดีมีเนื้อสีขาวอมชมพู เพราะจับมากินเป็นอาหารชั้นเลิศ เช่น ผัดฉ่า ต้มยำ ขายราคาแพงๆในร้านอาหารดังๆ

 

Sponsored Ad

 

        แต่โครงการดังกล่าวก็ขาดทุนด้วยเหตุผลด้านรายละเอียดของวิธีการเลี้ยง และความจริงก็เปิดเผยให้รู้โดยทั่วกันว่า ปลาเนื้อขาวนั้นแท้จริงแล้วคือปลาสวาย ทว่าความเข้าใจนั้นก็ยังคงถูกใช้เป็นเครื่องมือโดยพ่อค้าหัวใสที่ตั้งชื่อเนื้อปลานั้นว่า ปลาดอร์ลี่

        “คนไทยโดยทั่วไปรังเกียจปลาสวายเพราะเนื้อเหลืองไม่น่ากิน แต่พอไปเจอปลาดอร์ลี่เนื้อออกสีขาวอมชมพูดูสวยงามน่ากิน ก็ยอมจ่ายเงินราคาแพงๆ เพราะคิดว่านี่แหละของดี แต่ที่ไหนได้เข้าใจผิดยิ่งกว่าผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม เมื่อปี 2504”

 

Sponsored Ad

 

        เขาเผยถึงประสบการณ์การไปดูงานที่เมือง Can Tho ประเทศเวียดนาม ในคราวประชุม 17th Annual Meeting of MRC Fisheries Program 25-26 November 2010 ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านประมงจากหลายประเทศไปประชุมกัน โดยฝ่ายไทยมีผู้เชี่ยวชาญจากกรมประมง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

Sponsored Ad

 

        ทั้งนี้ทุกคนต่างยืนยันว่าที่เขาเลี้ยงในบ่อดินริมแม่น้ำ และเข้าโรงงานแร่เป็นชิ้นเนื้อสีขาวอมชมพู คือ “ปลาสวายธรรมดา” โดยชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasius Hypopthalmus แต่ชาวเวียดนามมีวิธีทำให้ปลาสวายมีเนื้อสีขาวด้วยเทคนิค 2 ข้อ คือ

        1. เลือกอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดสีเหลืองเข้าไปแทรกในไขมัน เช่น อย่าให้มีอาหารที่เป็นข้าวโพด และเนื่องจากเมืองนี้อยู่ใกล้ปากแม่น้ำ (ใกล้ทะเล) จึงสามารถหาซื้ออาหารโปรตีนจำพวกปลาป่นราคาถูกๆ

Sponsored Ad

        2. มีการถ่ายเทน้ำให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา พวกเขาโชคดีที่เมืองนี้อยู่ใกล้ทะเลทำให้มีน้ำขึ้นและน้ำลง จึงสามารถถ่ายน้ำเข้าและออกจากบ่อดินได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำให้สิ้นเปลืองพลังงาน

        “ด้วยเหตุผลที่ว่าทำให้ปลาสวายธรรมดามีเนื้อสีขาวอมชมพู ในต้นทุนที่ต่ำ สามารถส่งออกตีตลาดได้ทั่วโลก เฉพาะตลาดอเมริกาแห่งเดียวพี่แกก็รับทรัพย์ไปแบบเต็มๆ”

        นอกจากนี้ เขายังเผยถึงความเห็นของ ดร.นฤพล สุขุมาสวิน จากสำนักผู้เชี่ยวชาญกรมประมง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 ในการประชุมเกี่ยวกับตัวชี้วัดเพื่อประเมินโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ที่จังหวัดอุดรธานี เผยว่ากรมประมงได้ขอความร่วมมือกับ อย. เพื่อสั่งให้เอกชนที่นำเข้าปลาสวายเนื้อขาวจากเวียดนาม ภายใต้ชื่อการค้าว่า “ปลาดอร์ลี่” ให้ระบุในฉลากว่านี่คือ “ปลาสวายธรรมดา” แต่เอกชนหัวการค้าใส่เพียงชื่อวิทยาศาสตร์ในฉลากว่า Pangasius hypopthalmus

        “แล้วพี่ไทยตาดำทั่วไปจะรู้หรือว่าเจ้าชื่อวิทยาศาสตร์นี่คือปลาสวายธรรมดาๆ ผิดกับกฎหมายอเมริกันที่เขาให้ระบุในฉลากว่า “ปลาเลี้ยงในฟาร์ม นำเข้าจากเวียดนาม” (Farm Raised……Product of Vietnam)” จากปลาสวายธรรมดากลายเป็นอาหารชั้นดี ดูไฮโซขึ้นโต๊ะอาหารฝรั่ง

        ทั้งนี้ ปลาดอร์ลี่ตัวจริงที่มีราคาสูงนั้น แท้จริงแล้วอยู่ในทะเลลึกที่มหาสมุทแอตแลนติก และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีเนื้อแน่น น่ากิน และมีชื่อเล่นว่า “จอห์น ดอร์ลี่” (John Dory) ชื่อวิทยาศาสตร์ Zenopsis conchifera เขาเผยว่า เปรียบเทียบกันแล้ว สเต๊กปลาดอร์ลี่ตัวจริงจะมีรูปร่างกลมๆ ป้อมๆ ส่วนสเต๊กปลาดอร์ลีปลอม รูปร่างจะยาวๆ เพราะเป็นปลาสวาย ผู้บริโภคสเต๊กนั้นถูกแหกตามาโดยตลอด

ปลาดอร์ลี่….ที่หลายคนเข้าใจผิดมานาน

ข้อมูลและภาพจาก Mthai

บทความที่คุณอาจสนใจ