ที่มาของ "ปั๊กปั๊ก" อาหารจากขยะ เลี้ยงปากท้องคนยากจน เบื้องหลังสังคมในฟิลิปปินส์

LIEKR:

เห็นแล้วสงสารมากค่ะ 10 ปีที่แล้วเคยดูผ่านทีวี ทุกวันนี้เด็กๆ ก็ยังมีชีวิตเหมือนเดิม

    เชื่อว่าผู้คนมากมายในโลกนี้มีเงินพอที่จะซื้ออาหารได้อย่างไม่ลำบาก จนสามารถกินทิ้งกินขว้างได้อย่างสบายใจ จนกลายเป็น “เศษขยะไร้ค่า” แต่สำหรับบางคนแล้วเศษขยะไร้ค่ากลับเป็นสมบัติล้ำค่าที่สามารถให้ครอบครัวประทังชีวิตไปได้...

    เรื่องราวในวันนี้เป็นเรื่องของอาหารที่เก็บมาจากกองขยะ ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเศษอาหารที่เหลือจากร้านอาหาร โดยเศษอาหารที่เหลือจะถูกทำความสะอาดใหม่ และเอามารีไซเคิลด้วยการกรรมวิธีต่างๆ ทั้งผัด ทอด ต้ม และปรุงรสใหม่อีกครั้ง เพื่อให้มีรสชาติพร้อมรับประทาน 

    เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินคำว่า “ปั๊กปั๊ก” มาบ้างแล้ว และประชาชนมากกว่า 1 ใน  4 ของประเทศฟิลิปปินส์มีฐานะยากจน และมีรายได้อยู่ที่เดือนละแค่ 5,500 บาทเท่านั้นเอง และความเหลื่อมล้ำของฐานะก็ค่อยๆ ทวีคูณและเพิ่มขึ้นทุกวัน คนยากรวยก็รวยขึ้น ส่วนคนจนก็เพิ่มขึ้นทุกวันเช่น จนกลายเป็นปัญหาที่ยากเกินจะแก้ไขได้

    อาหารปั๊กปั๊ก จะทำมาจากเนื้อไก่มากกว่าหมู เนื่องจากหมูมีไขมันเยอะและอาจติดโรค เศษอาหารที่ได้มาต้องคัดแยกก่อนเสมอ เพื่อเอาส่วนที่กินไม่ได้ทิ้ง จนบางครั้งก็มีแค่กระดูกเท่านั้น

    เมื่อได้เศษกระดูกเศษเนื้อสัตว์ที่คัดแยกได้มาแล้ว ก็จะนำมาแบ่งใส่ถุงขายถุงละ 10 กิโลกรัม ราคา 80 บาท และยังมีถุงเล็กๆ ถุงละ 10-20 บาท ที่แบ่งขายเพื่อให้คนที่มีเงินไม่พอซื้อได้มีอาหารกิน

    สื่อต่างประเทศได้ลงพื้นที่ไปดูขั้นตอนของการปรุงอาหาร โดยจะเริ่มจากทำความสะอาดกระดูกและเนื้อสัตว์ที่คัดแยกไว้ ด้วยการล้างน้ำเปล่า 4-5 ครั้ง หรือดูจนกว่าน้ำจะล้างเศษดินได้หมด หลังจากนั้นแม่ค้าก็จะเริ่มทำขั้นตอนการปรุง

    แม่ค้าจะตั้งเตาและเจียวหอมแดงในน้ำมัน จากนั้นใส่กระดูกและเนื้อสัตว์ที่ล้างสะอาดแล้วลงไป โรยเกลือเล็กน้อย และผสมซอสมะเขือเทศ เพื่อช่วยให้รสชาติอร่อยขึ้น และกลบกลิ่นไม่พึงประสงค์จากกองเศษขยะ

    อาหารที่ผ่านกองขยะมาแล้วแน่นอนว่าจะไม่สะอาด หากแม่ค้าปรุงอาหารไม่ถูกวิธีก็อาจจะท้องร่วงหรือป่วยได้เลย เด็ก 1 ใน 3 จากฟิลิปปินส์ต้องเผชิญหน้ากับภาวะขาดแคลนอาหาร และขาดสารอาหาร 

    รัฐบาลได้ออกมาเตือนว่า ปั๊กปั๊ก เป็นอาหารที่มีอันตรายต่อสุขภาพเด็กเป็นอย่างมาก แต่สุดท้ายเด็กเหล่านั้นก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ดีพอ หลายคนต้องกินอยู่เหมือนเดิม เพื่อให้มีชีวิตรอดต่อไป...

ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิ๊ก <<<

ที่มา : South China Morning Post