LIEKR:
นี่เป็นครั้งแรกที่ได้เล่าเรื่องของตัวเองให้ลูกสาวได้ฟัง สำหรับ หม่ำ จ๊กมก ตลกซุปตาร์ ที่ครั้งหนึ่งเคยน้อยใจ เพราะคิดว่าพ่อแม่ไม่รัก จนต้องหนีออกจากบ้าน..
หม่ำ จ๊กมก ได้บอกว่า จากยโสธรเข้ามากรุงเทพฯ ตอนนั้นมีติดตัวประมาณ 70 บาท ต้องโบกรถมาลงสายใต้เพื่อมาหางานทำ พอมาถึงก็ไปสมัครเป็นคอนวอยวงลูกทุ่ง (คอนวอยหมายถึงผู้อยู่เบื้องหลังการแสดง) แต่เจ้าของวงเห็นว่าพูดเก่งเลยให้ไปเล่นตลกแทน
Sponsored Ad
หม่ำบอกว่า ครั้งแรกที่ออกไปเล่นเป็นงานวัด ซึ่งมีคนเข้ามาดูเยอะมาก ทำให้อาย จนขอตัวเข้าไปก่อน แต่คนคิดว่าเป็นมุกก็หัวเราะกันใหญ่ พอร้องลิเกก็ร้องไม่ออก คนก็คิดว่าเป็นมุกอีก โดนแบบนี้ไปสองสามครั้งก็เริ่มมีความกล้ามากขึ้น
Sponsored Ad
จุดพลิกผันในชีวิต ตอนที่ย้ายมาอยู่ที่คณะของ ป๋าเทพ โพธิ์งาม ด้วยความที่มีประสบการณ์แล้วทำให้กล้าเล่นมากขึ้นก็กลายเป็นชื่นชอบของผู้คน จนทำให้กลายเป็นตลกดาวรุ่งในยุคนั้นคนเดียวเลย พอดังก็ได้ค่าตัววันละ 3-4 พันบาท ผ่านไปหลายเดือนพ่อกับแม่ก็มานั่งนับเงินให้สรุปว่ามีอยู่ 2-3 แสน
ในชีวิตที่ไม่เคยมีเงินเยอะขนาดนั้นมากก่อน กลับจากทำงานก็ประมาณ ตี 4 ตี 5 พอนอนตื่นก็ไปทำงานต่อเลย เพราะต้องการหาเงิน
Sponsored Ad
พ่อกับแม่ที่นั่งนับเงินก็มือสั่น เพราะยุคนั้นมีเงินแค่ 3 หมื่นก็กลับบ้านไปซื้อสามล้อถีบอยู่บ้าน เปิดร้านขายของชำก็ได้แล้ว แต่คุณหม่ำกลับรู้สึกว่ามันถึงยุคที่ต้องเปลี่ยนแปลงความคิดนั้นได้แล้ว
Sponsored Ad
หม่ำได้บอกอีกว่า เล่นตลกอยู่ที่คณะของป๋าเทพ ได้ประมาณ 9 ปีก็ออกมาตั้งคณะเอง หลายคนมองว่าทะเลาะกันเลยออก จริง ๆ แล้วไม่ได้ทะเลาะกัน แค่ช่วงนั้นถ่ายหนังบ้านผีปอบ และภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง แล้วต้องลางานอยู่ตลอด ก็รู้สึกเกรงใจป๋าเทพด้วย
นอกจากนี้ คุณหม่ำ ยังได้พูดถึง 4 ผู้มีพระคุณในชีวิตที่จำไม่เคยลืม คนแรกคือ เปี๊ยก ปากน้ำโพธิ์ เป็นคนที่พาหม่ำไปอยู่คณะของป๋าเทพ คนที่ 2 คือ ป๋าเทพคนที่ทำให้มีชื่อเสียง คนที่ 3 คือ พี่ตา ปัญญา ที่คอยมอบโอกาสงานในวงการให้ทำ คนสุดท้ายคือเสี่ยเจียง ที่ให้โอกาสทำหนังและภาพยนตร์
Sponsored Ad
คุณหม่ำยังพูดทิ้งท้ายอีกว่า ถ้าหากให้เปรียบทั้ง 4 คน ก็คงเปรียบพี่เทพคือเสาเอก พี่ตาคือกำแพงไม่ให้ลมมาตี เสี่ยเจียงคือหลังคาไม่ให้ฝนตกลงมาเปียก พี่เปี๊ยกดูแลความมั่นคง ถ้ายังมีชีวิตอยู่ คิดถึงเขามาก ทุกคนล้วนดีกับครอบครัวตนเองมาก ๆ
ชมคลิป
คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิก <<<
ที่มา : M Busarakum