LIEKR:
จังหวัดที่มีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลากหลายเชื้อชาติหรือหลายชาติพันธุ์ ก็คือ จังหวัดนครราชสีมา หรือ โคราช นั่นเอง หลายคนกำลังสงสัยอยู่ว่า ชาวโคราชแท้จริงแล้วนั้น มีที่มาจากไหนกันแน่
กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีจำนวนมากมีอยู่สองกลุ่มใหญ่คือ ไทย หรือเรียกอีกอย่างว่า ไทยโคราช และอีกกลุ่มคือ ชาวลาว อยู่ตอนบนและด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตจังหวัด จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าชุมชนโบราณซึ่งเป็นร่องรอยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคหินใหม่ต่อเนื่องมาถึงยุคโลหะ กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา
Sponsored Ad
ครั้นถึงสมัยประวัติศาสตร์ก็มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดีซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเสมา ตั้งอยู่บริเวณอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน เป็นเมืองใหญ่ เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของรัฐศรีจนาศะ ต่อมาในสมัยขอมพระนครมีการสร้างเมืองนครราชอยู่ในบริเวณเดียวกัน โดยมีเมืองพิมายเป็นเมืองสำคัญ
Sponsored Ad
ครั้นถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดให้สร้างเมือง ณ ที่ตั้งปัจจุบัน พระราชทานนามว่าเมืองนครราชสีมา พร้อมทั้งส่งขุนนางคือ พระยายมราช (สังข์) มาปกครองเป็นพระยามหานครต่างพระเนตรพระกรรณ พร้อมทั้งอพยพขุนนางทหารและครอบครัวจากกรุงศรีอยุธยามาเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นข้าราชการประจำเมืองนครราชสีมา จากนั้นชาวอยุธยาอพยพมาอยู่นครราชสีมาครั้งใหญ่อีกระลอกหนึ่งเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 โดยมีชาวไทยชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้อพยพเข้ามาด้วย
เมื่อล่วงเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ ขุนนางที่มาปกครองเมืองนครราชสีมาและเมืองบริวารก็ถูกส่งมาจากกรุงเทพฯ ทำให้เกิดการผสมผสานทางชาติพันธุ์กับกลุ่มชาวพื้นถิ่นที่อยู่เดิมเป็นชาวไทโคราช ซึ่งมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเองในด้านต่างๆ ทั้งเครื่องแต่งกาย อาหารการกิน บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ประเพณีพิธีกรรม ความเชื่อ ดนตรี นามสกุลคนโคราช และที่สำคัญคือ ภาษาโคราช ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น
Sponsored Ad
ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไปคล้ายคลึงภาคกลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทยภาคกลาง พูดสำเนียงเหน่อแบบ คนกรุงศรีอยุธยา สำเนียงหลวง ซึ่งปัจจุบันถูกเรียกว่า สำเนียงโคราช
Sponsored Ad
ปัจจุบัน กลุ่มไทยโคราชอาศัยอยู่ในทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้นบางอำเภอที่มีชาวไทยอีสานมากกว่า เช่น อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย และสูงเนิน และยังพบชาวไทยโคราชในบางส่วนของ จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอบำเหน็จณรงค์และจัตุรัส) จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง และหนองกี่)
ชาวไทยอีสาน เป็นกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนประชากรมากรองจากกลุ่มไทยโคราช อาศัยอยู่มากในบางอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอบัวลาย อำเภอสีดา อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอประทาย อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน และบางส่วนของอำเภอคง อำเภอห้วยแถลง อำเภอชุมพวง อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง และอำเภอสีคิ้ว เป็นต้น
Sponsored Ad
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ฝรั่งเศส ชื่อ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) เข้ามากรุงศรีอยุธยา ท่านราชทูต ลาลู แบ เขียนรายงานว่า เมืองโคราชสีมา (Corazema) เป็นหัวเมืองใหญ่ สมเด็จพระนารายณ์ว่าจ้างนายช่างฝรั่งเศสออกแบบกำแพงเมืองโคราช กว้าง 1,000 เมตร ยาว 1,700 เมตร กำแพงเมืองมีป้อมค่ายหอรบ พระราชทานชื่อเมืองว่า นครราชสีมา
ที่มา : newsonline60