รู้จัก "ดร.ปรีชา เรืองจันทร์" จากเด็กเลี้ยงควายไถนา สู่ ผู้ว่าฯ สุดติดดิน ผู้นำที่ชาวบ้านทุกคนเคารพรัก

LIEKR:

ที่เข้าใจชาวบ้านที่ลำบาก เพราะเมื่อก่อนก็เป็นชาวบ้านมาก่อน นี่แหละคนที่จะเข้าถึงชาวบ้านได้จริง ๆ

    วันนี้เราจะพาทุกคนไปย้อนเวลาไปดูชีวิตของท่านผู้ว่าตงฉินที่มีชื่อว่าดร.ปรีชา เรืองจันทร์ ซึ่งเป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดมาหลายจังหวัดโดยหลังจากที่เกษียณอายุราชการแล้วก็หันหลังกลับเข้าสู่วิถีชีวิตดั้งเดิม

    นั่นก็คือวิถีชีวิตแบบชาวเกษตรกรและเดินตามรอยเบื้องยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในสมัยเด็กของผู้ว่านั้นเป็นเพียงแค่

        เด็กบ้านนอกที่เกิดในบ้านหลังกอไผ่อำเภอบางมูลนากจังหวัดพิจิตรโดยตระกูลของเขานั้นเป็นตระกูลชาวนาไม่เคยมีใครนั้นรับราชการเลยสักคนเดินในตอนนั้นตัวเขาก็เรียนอยู่ในโรงเรียนวัดทั้งโรงเรียนก็มีครูอยู่คนเดียวพ่อก็มีหลังคาโล่งนั่งพื้นไม่มีเก้าอี้แต่อย่างใดเด็กก็เรียนแบบตามมีตามเกิดเท่านั้น ซึ่งการศึกษาของข้าวในสมัยเด็กน้อยไม่ได้แบ่งตามห้องอย่างเช่น

    ปัจจุบันและเครื่องมือการสอนและมีแค่กระดาษฉนวนนั่งเรียนอยู่กับพื้นทั้งโรงเรียนมีนักเรียนอยู่ที่ประมาณ 2 ถึง 300 คนและมีการสลับการเรียนแต่พอเข้าปอ 4 ก็เริ่มมีสมุดใช้โดยคุณปรีชาได้เปิดเผยว่า ผมเป็นคนเรียนเก่ง ได้รับความไว้วางใจจากครู ได้เกรด 4 ตลอด เมื่อขึ้นชั้น ป.2 คุณครูก็ให้ไปเป็นผู้ช่วยสอน ป.1 ขึ้นชั้น ป.3 ก็มาช่วยสอน ป.1-ป.2 ครูจะบอกว่า “เอ้า…เด็กชายปรีชามาช่วยครูสอนหน่อยสิ เราเป็นเด็กไม่คิดอะไร…ก็ไป”

    นอกจากสอนหนังสือแล้ว ก็ยังต้องคอยคุมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยด้วย แล้วหลังจากที่เขาเรียนจบชั้นปอ 4 ได้ไปไถนาเลี้ยงวัวเลี้ยงควายซึ่งในตอนนั้นก็มีคนแนะนำว่าไอ้นี่มันชอบอ่านหนังสือที่กรุงเทพฯมีเรียนสอบเทียบโดยในตอนนั้นตัวเขาก็ไม่ได้คิดอะไรเพราะฐานะทางบ้านมันค่อนข้างยากจนโดยการทำนาปรังกับนาปีที่บ้านก็มีแต่หนี้กะหนี้ได้เงินมาเท่าไหร่ก็ใช้หนี้เสียหมด

    และในบางครั้งที่ต้องออกไปจับจ่ายก็ต้องใช้วิธีการเดินทางเท่านั้นในตลาดจากบ้านนั้นห่างออกไปประมาณ 15 กิโล ถ้าหากรวมระยะการเดินทางไปกลับและเราก็จะอยู่ที่ 30 กิโลซึ่งเป็นการเดินทางที่ดูทั้งนั้นทั้งคนทั้งรัฐทุ่งรัฐหนองกันโดยในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีถนนกว่าจะมีถนนก็ตอนที่ตัวเองนั้นเป็นปลัดอำเภอแล้ว แต่ละสุดท้ายวันหนึ่งเขาก็วัดดวงของตัวเองเข้าสู่กรุงเทพและเรียนกศนสามารถต่อสอบติดจุฬาได้เป็นที่สำเร็จและหาเงิน

    โดยการล้างชามและทำอาชีพนักร้องจึงได้รับฉายาว่า “ไอ้รุ่ง พระลอ” ก่อนเริ่มอาชีพราชการ ตัวนี้ตอนแรกก็จบมศ. 3 จากนั้นก็จบมศ. 5 โดยใช้เวลาเพียงแค่ 15 เดือนก็สามารถนำผ่านมาได้ 5 ระดับชั้นตอนแรกนึกว่าจะเลิกแต่ถ้าเรียนไม่จบก็ทำงานไม่ได้จนกระทั่งได้มีโอกาสและสอบ Entrance จนสามารถสอบติดมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ได้เป็นที่สำเร็จและได้ระหว่างเรียนก็ทำงานหาเงินไปด้วยแต่ก็ไม่ทำเป็นหลักเป็นแหล่ง

    ซึ่งที่ไหนมีให้ทำก็ทำบางครั้งก็เล่นดนตรีเพื่อหารายได้ เมื่อจบคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยจุฬาก็ได้ไปสอบข้าราชการตามปกติหลังจากที่ 2 เขาก็สามารถสอบสิทธิ์และได้เข้ามาทำงานในหน้าที่เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนของกระทรวงมหาดไทยและทำอยู่ตรงนี้ได้ประมาณ 8-9 ปีจนกระทั่งมีโอกาสได้มาสอบเป็นปลัดอำเภอจนกระทั่งแต่ต้องมาเป็นรองผู้ว่าและกระทั่งและเป็นผู้ว่าในหลายจังหวัด

    โดยดร.ปรีชา สามารถเรียนจบปริญญาตรี พ.ศ. 2518 รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท พ.ศ. 2522 รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ปริญญาเอก พ.ศ. 2548 Doctor of Organization and Transformation (DODT), CEBU Doctors University, Philippines

    ซึ่งตัวเขานั้นไม่เคยฝันถึงอาชีพข้าราชการเลยเพราะตอนนั้นตัวเขาคิดว่าอยู่บ้านนอกคอกนาไม่คิดว่าจะมีโอกาสที่ได้ทำอาชีพดังนี้ โดยตัวเขาก็ยังได้เล่าอีกว่าตอนที่ทำข้าราชการนั้นตัวเขาก็เจออุปสรรคต่างๆมากมายทั้งปัญหามากมายซึ่งชีวิตของข้าราชการนั้นจะต้องมีความแข็งแรงและความอดทนพอควรตอนที่ไปเป็นปลัดอำเภออยู่นั้นก็ไปดูเรื่องที่ดินสาธารณะเป็นหมื่นๆที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเมื่อก่อนนั้นมีการบุกรุกที่กัน

    โดยท่านก็ตามไปจับติดคุกบ้างและยึดบ้านโดยทำแบบตรงไปตรงมาตามนโยบายกฎหมายและดุลพินิจตามหลักเกณฑ์ ชีวิตนี้โดนข่มขู่เอาชีวิตมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งเราก็รู้ว่าเขาขู่ แต่บางครั้งก็เหมือนลงมือจริง เช่น มีคนขับรถตามมาแล้วพยายามเบียดให้ตกถนน หรือสภาพรถมีปัญหา เราไม่อยากพูดว่าเป็นการลอบทำร้ายเพราะไม่มั่นใจ หากพูดไปลูกน้องเราจะเสียขวัญ เสียสมาธิ จึงได้แต่กำชับลูกน้องว่าวันหลังให้ระวังหน่อยนะ

    ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้ เจอตั้งแต่เป็นปลัดอำเภอ นายอำเภอ รองผู้ว่าฯ เป็นผู้ว่าราชการแล้วก็ยังเจอแบบนี้ 2 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ ป่าไม้ และการปราบปรามยาเสพติด” โดยทางดร.ปรีชา สิ่งที่ทำให้เขาแคล้วคลาดจากภัยนั่นก็คือความจริงใจและความตรงไปคนตรงหน้าของเขาอีกทั้งการที่เขานั้นชอบทำบุญจะทำให้มีบุญมากและชอบช่วยเหลือผู้อื่น

    โดยไม่คิดจะหวังผลตอบแทนและหลังจากที่ผู้ว่ารายนี้นั้นได้ออกจากข้าราชการก็ได้ใช้ชีวิตโดยยึดอาชีพเป็นเกษตรกรเพื่อหาความสุขในช่วงบั้นปลายชีวิตและใครหลายคนก็ต่างต้องงงเพราะว่ามีข้าราชการระดับสูงหลายคนนั้นไม่เคยมีใครเกษียณข้าราชการแล้วมาทำเกษตรยกเว้นคนๆนี้

    ซึ่งตัวเขาเองก็ได้บอกว่าตัวเขาเป็นลูกชาวนาก็แค่กลับมาทำนาก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรโดยตอนนี้เขาจะใช้ชีวิตอยู่กับภรรยาสองคนช่วยดูแลที่ดินประมาณ 20 ไร่ซึ่งที่ดินของเขาก็แบ่งออกเป็น 4 โซนนั่นก็คือ

    1. ป่าปล่อย ในหลวงสอนว่าไม่ต้องทำอะไร ปล่อยเฉยๆ ก็เป็นป่ามีต้นหวาย เห็ดโคน     2. ป่าปลูก เช่น ปลูกไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน     3. ไม้ดอกไม้ประดับ ชอบพวกไม้หอม ดอกลำดวน ดอกไม้อื่นๆ     4. ไม้แดก (ไม้กินได้) กล้วยหอม กล้วยไข่ ส้ม ฝรั่ง มะละกอ ฯลฯ

    “การทำอาชีพเกษตร ห้ามคิดรวย ถ้าคิดก็จนตั้งแต่แรกคิดแล้ว ที่เราทำ เรายึดหลัก “ความสุข” ความสุขของผมคือแบบนี้ ทำแล้วไม่เดือดร้อนใคร ไม่เดือดร้อนครอบครัว ไม่เดือดร้อนสังคม ไม่เดือดร้อนประเทศชาติ ได้ทำสิ่งที่รักก็มีความสุขแล้ว” ดร.ปรีชา กล่าวทิ้งท้าย… โดยดร. พิชายก็ได้มีการเปิดเผยว่าชีวิตของเขาจะใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งจะต้องสำรวจตัวเองว่าตัวเองนั้นถนัดอะไรและใจรักอะไรแต่ชอบอะไรซึ่งหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะทำได้จริงหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวเราและหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจริงๆก็คือการลงมือทำและการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

    1 ทำอะไรที่ตัวเราไม่เดือดร้อนก็ทำไป     2 ทำในสิ่งที่ครอบครัวเราไม่เดือดร้อนก็ทำไป     3 ทำที่คนข้างเคียงไม่เดือดร้อนก็ทำไป และ     4 สังคมไม่เดือดร้อนก็ทำไป คนที่ไม่ทำไม่ผิด เราลงมือทำ ทำผิดไม่ดีก็แก้ไข ความสำเร็จต้องลงทำ ความรู้อย่างเดียวไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าจะประสบความสำเร็จ ความมุ่งมั่น ตั้งใจและลงมือทำคือสิ่งที่จะบ่งบอกได้ข้อมูลและภาพจาก taibann/siamtodaynews