ภาพเตือนใจมนุษย์ เสือจากัวร์คาบ "ขวดน้ำอัดลม" ขึ้นมาเล่น ตอกย้ำขยะพลาสติกล้นโลก!

LIEKR:

"ขยะ" ที่คนมักง่ายทิ้งไป ผู้ที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ คือสัตว์ตาดำๆ...

    สื่อนอกรายงานผลงานภาพถ่ายของสัตว์ในธรรมชาติที่ชวนสะท้อนจิตใจมนุษย์ว่า “สัตว์ป่าถูก คุ ก ค า ม จาก ภั ย ข ย ะ พลาสติก” หลังจากที่เสือจากัวร์ในป่าแห่งหนึ่งของประเทศบราซิลได้ลงไปงับขวดพลาสติกน้ำอัดลมที่ลอยมากับแม่น้ำ

    พอล โกลสโตน์  (Paul Goldstein) ช่างภาพและมัคคุเทศก์ นำเที่ยวชมสัตว์ป่าในป่าแพนทานัล (Pantanal)ของบราซิล พื้นที่ชุ่มน้ำเขตร้อนชื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อนถ่ายภาพเสือจากัวร์เพศผู้  ซึ่งมีอายุ 3 ปี มันใช้ขาเขี่ยขวดน้ำพลาสติกสีเขียวที่ลอยมากับสายน้ำก่อนจะใช้ปากคาบขวดขึ้นมาเล่น ขณะที่เสือจากัวร์อีกตัวนอนเล่นในพงหญ้าริมน้ำ

 

Sponsored Ad

 


    โกลสไตน์เปิดเผยว่า  ขวดลอยมาตามน้ำในช่วงฤดูฝนอาจมีกลิ่นบางอย่างลอยไปเตะจมูกเสือจากัวร์ ภาพแต่ละช็อตช่าง ส ะ เ ทื อ น อ า ร ม ณ์ แต่หวังจะก ร ะ ตุ้ น เตือนการทิ้งพลาสติกที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก และหวังว่า ภาพถ่ายนี้จะช่วยส่งผลให้นักการเมืองออกมาตรการควบคุมการใช้พลาสติกในยุคปัจจุบันให้มากขึ้น

 

Sponsored Ad

 

    ในซูเปอร์มาเก็ตของประเทศอังกฤษยังมีการขายถุงพลาสติกเพื่อช่วยลดปริมาณถุงพลาสติกในมหาสมุทรและเป็นการสนับสนุนการรณรงค์ของไมเคิล โกฟ อดีต รมต.สิ่งแวดล้อมอังกฤษที่ประกาศในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่าจะ ห้ า ม ใช้หลอดพลาสติก ไม้พายพลาสติก และไม้เช็ดหู ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2020 เป็นต้นไป

    ในปัจจุบัน มีหลายๆ ประเทศที่ ห้ า ม ใช้ถุงและขวดพลาสติก เช่น รวันดา เคนยา และแทนซาเนีย ทำให้เพิ่มเป็น 40 ประเทศทั่วโลกที่ ห้ า ม ใช้พลาสติกหรือออกกฎการใช้หรือเก็บภาษีการใช้พลาสติก

 

Sponsored Ad

 

    นายกเทศมนตรีเทศบาลบาอูเนย์ เสนอแนะให้นักท่องเที่ยวสัญจรด้วยการสังเกต “ป้ายจราจรตามริมถนน” หรือย้อนยุคกลับไปใช้ “แผนที่ถนนน่าเชื่อถือแบบเก่า” ไปเลย หรือดีกว่านั้น ใช้บริการมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ซึ่งเชี่ยวชาญและไม่ทำให้นักท่องเที่ยวประสบอันตรายใดๆ

 

Sponsored Ad

 

    นโยบายต่างๆเกี่ยวกับการลดการใช้พลาสติกมีมากขึ้นเพื่อให้โลกของเราน่าอยู่และไม่เป็นการทำ ร้ า ย สิ่งแวดล้อมหรือทำ ร้ า ย  ให้น้อยที่สุด ทุกอย่างเป็นไปได้หากเราช่วยกันคนละไม้คนละมือ มันไม่เพียงช่วยรักษาโลกของเราเท่านั้น แต่มันยังเป็นการช่วยคนรอบข้างที่เรารักให้สามารถอยู่คู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไปได้นานตราบนานเท่านาน

.

.

.

ที่มาบางส่วน: teepr,khaosod

เรียบเรียงโดย LIEKR

บทความที่คุณอาจสนใจ