LIEKR:
เชื่อว่าน้อยคนจะรู้ว่าประเทศไทยของเรา ในอดีตเคยมี "กระทรวงเวทมนตร์" ด้วยนะ ซึ่งกระทรวงเวทมนตร์ที่ว่าเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณาโทษผู้กระทำผิด ที่เกี่ยวกับการกระทำทางไสยศาสตร์โดยเฉพาะ แต่สมัยนั้นประเทศของเราไม่ได้ใช้ชื่อว่า กระทรวงเวทมนตร์ แต่ใช้ชื่อว่า "กระทรวงแพทยาคม" หรือที่บางตำราได้บันทึกว่า "ศาลกระทรวงแพทยา" และวันนี้เราขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกระทรวงดังกล่าว
โดยเฟซบุ๊ก โบราณนานมา ได้เผยข้อมูลว่า กระทรวงแพทยาคม หรือ กระทรวงเวทมนตร์ของไทย ได้ถูกยุบลงไปแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว สำหรับคำว่า "แพทยาคม" จากคำว่า "แพทย" มีความหมายว่า หมอรักษาโรค และ "อาคม" ที่มีความหมายว่า เวทมนตร์ มารวมกันโดยมีความหมายว่า "หมอรักษาโรคเกี่ยวกับเวทมนตร์"
Sponsored Ad
สำหรับ กระทรวงแพทยาคม หรือ ศาลกระทรวงแพทยา มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
Sponsored Ad
โดยกระทรวงแพทยาคมจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาคมเป็นตุลาการ เคยทำหน้าที่สอบสวนและพิจารณาโทษผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับไสยศาสตร์ โดยถ้าความเกิดในหัวเมือง ขุนหมื่นกรมแพทยาหัวเมือง ก็จะเป็นผู้พิจารณา
จนกระทั่งค่อย ๆ ถูกลดบทบาทและอำนาจจากศาลกระทรวงแพทยา เป็นศาลกรมแพทยา ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ปี 2380 และในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้เกิดการปฏิรูปหลายอย่างในแผ่นดิน ทำให้ท้ายที่สุด เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2434 ศาลกรมแพทยา ก็ถูกยุบลง เพราะถูกมองว่าไม่ทันสมัย ล้าหลัง
ที่มา : โบราณนานมา