NASA เผย พบดาวดวงใหม่ "คล้ายโลกของเรา" คาดมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อยู่ห่างแค่ 300 ปีแสง

LIEKR:

โลกฝาแฝดมีอยู่จริงเหรอเนี่ย !!

    ดาวเคราะห์ใหม่คล้ายโลก NASA เผยนักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ที่คล้ายโลกของเรา ทั้งขนาดและอุณหภูมิ อยู่ห่างออกไป 300 ปีแสง โดยโคจรรอบดาวฤกษ์ของมันในเขตเอื้อต่อสิ่งมีชีวิต 

    นาซา ประกาศ นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์แฝดของโลก มีทั้งขนาด และอุณภูมิที่ใกล้เคียงกันมาก ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกเรียกว่า Kepler-1649c อยู่ห่างจากโลก 300 ปีแสง โคจรรอบดาวแคระแดง

    ดาวเคราห์ดวงนี้ถูกเปิดเผยโดยนาซาเมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา โดยนักวิทยาศาสตร์ระหว่างส่องกล้องโทรทรรศน์ Kepler

    โดยเจ้า Kepler-1649c นี้มี้ขนาดใหญกว่าโลก 1.06 เท่า มันได้รับพลังงาานจากดาวฤกษ์ดวงแม่ของมันคิดเป็น 75% ของพลังงานที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์จึงคาดว่ามันมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับโลก ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พบดาวเคราะห์ขนาดใกล้โลกและอยู่ในที่ที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยสิ่งมีชีวิต และระยะความห่างเหมาะที่จะมีน้ำอยู่ในสถานะของเหลว

    อย่างไรก็ดี จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า Kepler-1649c โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงแม่ใช้เวลา 19.5 วันบนโลก หมายความว่า ดาวเคราะห์โคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์มาก (1 ปีบนดาวเคราะห์เท่ากับ 19.5 วันบนโลก) แรงโน้มถ่วงจากดาวฤกษ์อาจล็อคให้ดาวเคราะห์หันพื้นผิวด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์ดวงแม่เสมอ คล้ายกับดวงจันทร์ที่หันด้านเดียวเข้าหาโลกตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์โดยละเอียดต่อไป

    นอกจากนี้ ยังพบดาวเคราะห์อีกหนึ่งดวงที่โคจรรอบดาวแคระแดงดวงนี้ มีขนาดใกล้เคียงกับ Kepler-1649c แต่อยู่ในวงโคจรที่ใกล้กว่าประมาณครึ่งหนึ่ง โคจรรอบดาวฤกษ์ด้วยคาบ 8.7 วัน คล้ายกับโลกของเราที่มีดาวเคราะห์ฝาแฝดคือดาวศุกร์และอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก

    กล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ปัจจุบันได้ปลดประจำการไปแล้ว แต่ยังมีข้อมูลมหาศาลรอการวิเคราะห์ โดยมันมีข้อมูลดาวฤกษ์กว่า 200,000 ดวง นักวิทยาศาสตร์กำลังวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ

    นักวิทยาศาสตร์จึงพัฒนาอัลกอริทึม Robovetter ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Kepler ขึ้นมาเพื่อค้นหาดาวฤกษ์ โดยความซับซ้อนของข้อมูลทำให้มันอาจจะตัดสินใจผิดพลาด

    ซึ่ง Kepler-1649c เป็นหนึ่งในข้อมูลที่ถูกตัดทิ้ง แต่เมื่อทีมนักวิจัยนำข้อมูลที่ถูกตัดทิ้งมาตรวจสอบอีกครั้งจนทำให้พบดาวเคราะห์นี้ ข้างนอกโลกนั้น มีสิ่งต่างๆมหัศจรรย์ที่น่าเรียนรู้อีกมากมาย แต่อย่าลืมช่วยกันรักษาโลกนี้กันด้วยนะ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ที่มา : Environman, EDU HUB, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page