LIEKR:
“สิ่งที่คุณพูด ตัดสินว่าคุณเป็นคนแบบไหน!” สิ่งที่คนๆ หนึ่งพูดออกมาก สะท้อนถึงระดับสติปัญญาและความรู้ของเขา
ปากเชื่อมต่อกับหัวใจ บางคนพูดตรงทำร้ า ย จิตใจคนอื่น เป็นเพื่อนร่วมงานที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ ทำตัวเป็นเจ้านาย เป็นแค่เพื่อนและญาติธรรมดา ไม่ได้คิดว่าตัวเองจะเป็นที่ปรึกษาให้ใคร บางคนบอกว่านี่เป็นบุคลิกที่กล้าหาญ ได้! แต่ต้องแยกให้ออก ต้องรู้จักควบคุม
Sponsored Ad
การพูดจาและระดับเสียงแสดงให้เห็นถึงการอบรมสั่งสอน ยิ่งได้รับการสั่งสอนมาดี เวลาคุยกับคนอื่น จะเข้าใจได้ว่าคนอื่นรู้สึกยังไง รู้จักที่จะควบคุมน้ำเสียงและระดับเสียงเวลาคุย พยายามไม่ให้รบกวนคนอื่น สิ่งที่คุณพูด ตัดสินว่าคุณเป็นคนแบบไหน..
การพูดคุยก็เป็นการฝึกฝนอย่างหนึ่ง
Sponsored Ad
ทุกครั้งเวลาปีใหม่ สงกรานต์ ตรุษจีนไปเจอญาติพี่น้องเพื่อนฝูงมักจะพูดว่า “อายุเท่าไหร่แล้ว ทำไมยังไม่แต่งงาน” “ทำไมอ้วนขนาดนี้ ลดน้ำหนักได้แล้ว” “เงินเดือน 2 หมื่น 8 พอใช้ได้ยังไง”
นี่ไม่ใช่การพูดตรง แต่เป็นการพูดเรื่องไม่เป็นเรื่องแบบไร้การอบรม มีแต่คนที่ไม่เข้าใจโลกเท่านั้นที่ชอบเปิดเผยผู้อื่นในที่สาธารณะ
คนที่มีได้รับอบรมฝึกฝนหรือไม่ ไม่ใช่ดูจากการพูดไม่พูด แต่ดูจากที่พูดออกมาเหมาะสมหรือไม่ คนบางคนพูดแล้วทำให้คนอื่นรู้สึกสบายใจ อยากคุยด้วย บางคนแค่เพิ่งอ้าปากพูด ผู้คนก็อยากหนีไปให้ไกล เพราะเขาพูดแต่สิ่งที่ทำ ร้ า ย คนฟัง
Sponsored Ad
วิธีการพูด ไม่ได้เรียนรู้ในวันเดียว แต่เป็นภูมิปัญญาที่ต้องเรียนรู้ไปตลอดชีวิต โดยมีจุดสำคัญสองจุด : อย่างแรกเลยคือเวลาพูดต้องใส่ใจกับโอกาส พูดออกมาในเวลาที่เหมาะสม อีกอย่างคือสิ่งที่พูดต้องมีเหตุผล ไม่พูดจาไร้สาระ และต้องคำนึงถึงผลของการพูดผิด
การทำให้คนอื่นต้องอายต่อหน้าสาธารณชน ไม่ใช่การกระทำที่ตรงไปตรงมา อย่าหาข้อแก้ตัวให้ตัวเองที่ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอน เหมือนที่ละคร Ming Dynasty in 1566 พูดไว้ “ก่อนพูดเราเป็นนายคําพูด หลังพูดคําพูดเป็นนายเรา”
Sponsored Ad
ระดับเสียงในการพูดของคุณ คือการอบรมสั่งสอนที่คุณได้รับ
การจงใจระบายอารมณ์กับผู้อื่น ลิ้นคุณจะขยับอย่างรวดเร็ว นอกจากสิ่งที่คุณพูดแล้ว ระดับเสียงในการพูดบ่งบอกถึงการได้รับการอบรมของคนๆ นั้น มีคำพูดที่ว่า “การมีเหตุผลไม่ใช่การเสียงดัง” การที่คุณมีเหตุผลไม่เกี่ยวข้องกับการพูดของคุณว่าระดับเสียงเบาหรือดัง คุณที่ได้รับการฝึกฝนจะรู้วิธีการแก้ปัญหาอย่างยิ้มแย้ม ไม่ทำให้คนอื่นรู้สึกอึดอัดและกดขี่ ใช้ทัศนคติที่ถูกต้องทำให้ได้รับการเคารพ
ครูหมดความอดทนในการตอบคำถามซ้ำไปซ้ำมา จึงพูดว่า “ต่อให้โง่แค่ไหนก็ควรเข้าใจได้แล้ว ทำไมเธอยังไม่เข้าใจ” ทำให้นักเรียนที่ตอนแรกฟังไม่เข้าใจ ไม่กล้าที่จะถามอีก
Sponsored Ad
การทะเลาะเบาะแว้งเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างสามีภ ร ร ย า คำพูดที่ว่า “บ้านนี้จะมีคุณก็หรือไม่มีก็ไม่ต่างกัน ผู้ชายอย่างคุณทำไม ห่ ว ย ขนาดนี้” ก็อาจทำให้สามีหมดหวังในชีวิตแต่งงาน คำพูดของคุณอาจสร้าง บ า ด แ ผ ล ที่ไม่มีวัน รั ก ษ า ได้ ดูแลปากของตัวเองดีๆ ไม่ใช่เวลาทำร้ายคนอื่นแล้วก็บอกว่า “ฉันก็แค่พูดตรงๆ อย่าถือสาเลย” มาปกป้องตัวเอง
คำพูดเสียงดังทั้งหลาย เป็นการจงใจ ไม่มีปัญญาในการควบคุมตัวเอง ควบคุมระดับเสียงต่อหน้าผู้คน การไม่รบกวนผู้อื่น เป็นมารยาท ปฏิบัติต่อทุกคนเท่ากัน เจอคนอ่อนแอไม่ใช้เสียงดังข่ม เจอคนแข็งแกร่งไม่ใช่เสียงเบาประจบ เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง จัดการกับอารมณ์ให้ดี อย่างเสียงดังกับคนใกล้ตัว เป็นมิตรกับคนแปลกหน้า
Sponsored Ad
ระดับเสียงซ่อนความใจดี ระดับเสียงเกี่ยวกับระดับความอบอุ่น
Cai Kangyong เคยพูดว่า “เวลาพูดต้องลดระดับเสียงและพูดอย่างมีสติถึงจะดีที่สุด อย่าใช้เสียงดังเพราะทะเลาะกับคนอื่น เพราะถ้าคนเราแม้แต่ระดับเสียงตัวเองก็ยังควบคุมไม่ได้ จะทำให้คนอื่นเชื่อในความสามารถด้านอื่นได้ยังไง”
ไม่มีใครตำหนิคำพูดของสุภาพสตรีที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงแม้ว่าจะพูดตรงๆ ก็ไม่ทำให้คนอื่นรู้สึกเจ็บปวดกับคำพูด นี่เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนจดจำคุณได้เร็วที่สุด
คำพูดของคุณ ตัดสินว่าคุณเป็นคนยังไง ทุกคนจำเป็นต้องฝึกพูดต่อไป เพราะโลกใบนี้เป็นของคนที่พูดดี
แปลและเรียบเรียงโดย LIEKR