กระแสมาแรง! ปลูก "หญ้าหวาน" แทน "ทำนา" 1 เดือนก็เก็บขายได้ เงินดีกว่าทำนา 7 เท่าต่อปี!

LIEKR:

กระแสมาแรง! ปลูก "หญ้าหวาน" แทน "ทำนา" 1 เดือนก็เก็บขายได้ เงินดีกว่าทำนา 7 เท่าต่อปี!

        ก่อนเข้าถึงเนื้อหา ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า อำเภอสะเมิง เป็นพื้นที่ภูเขาสูง ฉะนั้น จะมีพื้นที่ราบสำหรับทำนาน้อย จะได้ข้าวประมาณ 100 ถัง ขายได้เงินประมาณ 10,000 บาท เมื่อปี 2557 สถาบัน IQS เข้ามาส่งเสริมการผลิตหญ้าหวาน จึงตัดสินใจทดลองปลูก จำนวน 1 ไร่ จนถึงปัจจุบันเปรียบเทียบแล้ว "มีรายได้มากกว่าการปลูกข้าวถึง 7 เท่าต่อปี"

        หญ้าหวานนั้น หลังจากปลูกได้ 30 ถึง 45 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว โดยทยอยเก็บทุกวัน ส่วนหญ้าหวานสด 10 กิโลกรัม เมื่อตากแห้งในโรงเรือนหลังคาพลาสติก หากแดดจัด ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จะเหลือน้ำหนักแห้งประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม คุณภาพของหญ้าหวานจะแตกต่างกัน ในแต่ละฤดูกาลคือ หน้าร้อนและหน้าฝนใบจะบางต้นสูง แต่หน้าหนาวใบจะหนาต้นจะเตี้ย หญ้าหวานถือเป็นพืชทนแล้ง จากช่วงแล้งที่ผ่านมาไม่มีน้ำรดระยะเวลาเป็นเดือนก็ไม่ได้รับผลกระทบ สามารถปลูกเป็นพืชทางเลือกทดแทนข้าวที่มีปัญหาด้านราคาอยู่ในขณะนี้ และเป็นพืชทนแล้งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำได้อีกด้วย

 

Sponsored Ad

 

        คุณละออง ศรีวรรณะ เกษตรกรบ้านอมลอง ผู้ผลิตหญ้าหวานมาตรฐานออร์แกนิกไทยแลนด์ โดยการส่งเสริมของสถาบันตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (IQS) เล่าให้ฟังว่า เดิมตนเองทำนา 1 ไร่ครึ่ง


 

Sponsored Ad

 

        คุณละออง เล่าต่อว่า จากการประสานงานของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ และสถาบันตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (IQS) ที่นอกจากจะดูแลการปลูกและดูแลรักษาเพื่อให้ได้มาตรฐานพืชสมุนไพรอินทรีย์แล้ว ยังมีงานวิจัยเพื่อต่อยอดให้กับเกษตรกร เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่นประเทศญี่ปุ่น โดยวิจัยความหวานของหญ้าหวาน ยกตัวอย่าง บดเฉพาะใบ บดก้านผสมใบ ว่าความหวานอย่างไหนจะดีกว่ากัน ในกลุ่มของคุณละออง จำนวน 7 คน กำลังเตรียมสร้างโรงงานเพื่อขอรับมาตรฐานโรงงาน (GMP)

 

Sponsored Ad

 


        หากพูดถึงความหวานเป็นรสที่คนขาดไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันคนให้ความสำคัญกับสุขภาพมาก จึงเลือกบริโภคเครื่องดื่มโดยพิจารณาสารปรุงแต่งรสหวานที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มหันมาสนใจใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติแทนสารสังเคราะห์มากขึ้น

        คุณรัชนีวรรณ์ เป็งพรม หรือ คุณแก้ว ได้ให้ข้อมูลหญ้าหวานว่า เป็นพืชที่ให้ความหวานโดยธรรมชาติ ใบหญ้าหวานสด สกัดด้วยน้ำได้สารหวานแห้ง ประมาณร้อยละ 1 ซึ่งสารหวานนี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 150-300 เท่า และทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส จึงไม่สลายตัวหรือเปลี่ยนสภาพจากความร้อนในการปรุงอาหาร

 

Sponsored Ad

 

 

        สารให้ความหวานจากหญ้าหวานเป็นสารสกัดที่มาจากธรรมชาติอย่างแท้จริง เป็นความหวานที่ปราศจากแคลอรี และไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำตาลในร่างกาย เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายสามารถขับออกมาได้ทันที ไม่มีการสะสม จึงเหมาะกับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ที่เป็นเบาหวาน ที่ยังต้องการรสหวานในอาหารและเครื่องดื่ม

        รูปแบบของหญ้าหวานที่คนนิยมรับประทานกัน มี 2 แบบ คือ นำใบหญ้าหวานมาผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ เพื่อเติมรสหวานเป็นชาสมุนไพร ยาชงสมุนไพรต่าง ๆ หรืออาจใช้ในรูปของสารสกัดจากหญ้าหวานเป็นผงสำเร็จรูปบรรจุซองสำหรับเติมลงในชา กาแฟ หรืออาหารต่าง ๆ

 

Sponsored Ad

 


        หญ้าหวาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia Rebaudiana Bertoni หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า Stevia อยู่ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ตามแนวพรมแดนระหว่างประเทศบราซิลและปารากวัย ซึ่งชาวปารากวัยมีการใช้ใบหญ้าหวานผสมกับชาดื่มมานานกว่า 1,500 ปีแล้ว หญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และขึ้นได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่สูง จากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600-700 เมตร มีการนำมาปลูกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมคือ ทางภาคเหนือ และบริเวณเขาใหญ่

 

Sponsored Ad

 

        หญ้าหวาน เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร ใบเดี่ยว รูปใบหอกกลับ ขอบใบหยัก มีดอกช่อสีขาว ลักษณะคล้ายต้นโหระพา หากมีการปลูกไว้ในบริเวณบ้านเป็นพืชผักสวนครัวจะมีประโยชน์มาก เพราะใบสดหรือตากแห้งต้มกับน้ำก็จะให้สารหวานใช้

ปรุงอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างดี

Sponsored Ad

        นอกจากนี้ มีงานวิจัยพบว่า กากหญ้าหวานที่ผ่านการสกัดสารหวาน (ที่พัฒนาเป็นผงแห้งบรรจุซองสำหรับเติมลงในชา กาแฟ หรืออาหาร) ยังคงมีความหวาน สามารถใช้ทดแทนน้ำตาลในการให้ความหวานในเครื่องดื่มชาชงได้ ซึ่งบรรจุเป็นถุงสำเร็จพร้อมชงดื่มได้ทุกช่วงเวลา ดื่มได้ง่าย ช่วยดับกระหาย จากการประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์จากกากหญ้าหวาน ผสมอัญชัน มะลิ กระเจี๊ยบแดง และเตยหอม พบว่า ชากากหญ้าหวานผสมมะลิซึ่งประกอบด้วยกากหญ้าหวาน 250 มิลลิกรัม และมะลิ 80 มิลลิกรัม เป็นสูตรที่มีสี กลิ่น และรสชาติ เป็นที่น่าพึงพอใจที่สุด ซึ่งการพัฒนา หาสูตรผสมที่ถูกใจเฉพาะบุคคลก็ทำได้ง่าย

ข้อมูลและภาพจาก naarn

บทความที่คุณอาจสนใจ