LIEKR:
ในโลกโซเชียลมีการแชร์กันถึงกรณีที่พู่แดงสีแดงติดกับถุงเท้าลูกเสือ ซึ่งไม่รู้ว่ามีประโยชน์อะไร หลายคนต่างเดากันต่าง ๆ นานา ทั้งในเชิงขำขันบ้าง เชิงสาระเล็ก ๆ ที่เกิดจากการเดาไปเองบ้าง
ล่าสุด เฟซบุ๊ก ณัฏฐภัทร ภูวนารถ กังสดาลมณีชัย ซึ่งเป็นเลขาธิการสโมสรเสือป่าแลลูกเสือสยาม และรองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ได้โพสต์อธิบายถึงสิ่งนี้ ว่า สิ่งเล็ก ๆ ....ที่ติดมากับ "Garter"
Sponsored Ad
เรื่อง “พู่” คำนี้เรียกแบบลูกเสือ (ส่วนหนึ่งของการ์เตอร์) น่าจะนำมาจากชาวสกอต ซึ่งเปนคนส่วนหนึ่งของอังกฤษ ที่มีธรรมเนียมการใช้ Flashes “แฟลช” กับถุงเท้ายาว ในการแต่งกายของเขา
Sponsored Ad
ชาวสกอต คนสำคัญที่ลูกเสือโลกรู้จัก คือ Mr. William Frederick de Bois Maclaren ผู้ตรวจการลูกเสืออังกฤษ ชาวสกอต ที่ซื้อที่ดินบริจาคแก่การลูกเสืออังกฤษ นำมาสร้างเป็นกิลเวลล์ ปาร์ก
แฟลช ใช้ผ้าลายประจำตระกูล ติดให้ยื่นออกมาจากรอยพับถุงเท้า ใช้แสดงทั้งชนชั้นและวรรณะ .....
เมื่อ บี.-พี. นำถุงเท้ายาวมาใช้เป็นเครื่องแบบลูกเสือ จึงต้องมีการใช้เชือกสีเขียวรัดถุงเท้าไม่ให้รูดลงมา ทิ้งชายเชือกที่ผูกถุงเท้าไว้สองชาย ให้ยื่นออกมานอกรอยพับถุงเท้า เหมือนที่ชาวสกอตใช้แฟลช พู่จึงมีสองชิ้น
Sponsored Ad
เมื่อ บี.-พี. ตั้งลูกเสือวิสามัญขึ้นในโลก เพื่อให้แตกต่างชัดเจนขึ้น จึงใช้เชือกสีแดงผูกถุงเท้า.
ว่ากันว่า ในวันที่เปิดกิลเวลล์ ปาร์ก มีการตัดริบบิ้นเปนแถบสีสองสีคือ สีเขียวกับสีเหลือง สีนั้นถูกอธิบายว่า คือ สีของ ”ลูกเสือ”
Sponsored Ad
โดย สีเขียว คือ ลูกเสือสามัญ และ สีเหลือง คือ ลูกเสือสำรอง ที่มีในขณะนั้น
ส่วน สีแดง ที่มีความหมายถึง สีของ “เลือด” คือ ความเสียสละ แม้กระทั่งเลือดและชีวิต เพื่อการทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง อันเป็นบทบาทสำคัญที่ลูกเสือวิสามัญ พึงปฏิบัติ สีแดง จึงกลายเป็นสี ของ ลูกเสือวิสามัญสืบมา
Sponsored Ad
สีเลือดหมู ของ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ มีมาอย่างไร บี.-พี. ไม่ได้กล่าวไว้ เพราะ ไม่ได้เป็นผู้ให้กำเนิด มามีเอาตอนหลัง บี.-พี. ถึงแก่กรรมไปแล้ว
สีของพู่จึงใช้เพื่อแบ่งลูกเสือที่ต่างชั้นกัน ด้วยประการฉะนี้ ครับ
Sponsored Ad
#ไม่มีการอ้างอิงอย่างเป็นหลักวิชาการเพราะข้าพเจ้ารวบรวมจากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง เรื่องนี้มีที่มา
ขอขอบคุณ : คุณธนเดช อิศรภักดีธรรม Tanadet Itsarapakdetam ลูกเสือไทยที่ไปเป็นผู้ตรวจการลูกเสืออเมริกา เอื้อเฟื้อข้อมูล #สโมสรเสือป่าแลลูกเสือสยาม #องค์กรไม่แสวงผลกำไร “เรื่องของการ์เตอร์”
ข้อมูลและภาพจาก เฟซบุ๊ก ณัฏฐภัทร ภูวนารถ กังสดาลมณีชัย